วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

สมาชิกกลุ่ม

1.นาย  ชนสิทธิ์     พงษ์สิทธิศักดิ์    เลขที่     4      ม.5/3
2.น.ส. ณัฐิรีย์        รุ่งเพชรมณี         เลขที่    14     ม.5/3
3.น.ส. เปมิกา       อินสว่าง              เลขที่    15     ม.5/3
4.น.ส. วิมลสิริ      แก้วไทรนันท์       เลขที่    16     ม.5/3
5.น.ส. บุตรม        พัดชู                    เลขที่    24     ม.5/3
6.น.ส. อัศวินี        สุนทรชัชเวช       เลขที่    25     ม.5/3

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

แบบแผนการพัฒนาของเซลล์กำเนิดเมกะสปอร์

นิวเซลลัส มีสองแบบดังนี้
     1. ออวุล tenuinucellate เป็นแบบที่พบได้ทั่วๆไป



                        ภาพที่ 31 เซลล์กำเนิดเมกะสปอร์ในออวุล tenuinucellate
     ในแบบนี้ เซลล์อาร์คิสปอร์ (archesporial cell หรือ archesporium) จะพัฒนาเป็นเซลล์กำเนิดเมกะสปอร์ (2n) โดยตรง เซลล์นี้มีขนาดใหญ่ เกิดอยู่ใต้และติดกับเนื้อเยื่อชั้นผิวนิวเซลลัส (nucellar epidermis) ที่พัฒนามาจากเนื้อเยื่อเจริญกำเนิดผิว (protoderm) ดังนั้น ชั้นนิวเซลลัสจึงบาง เนื่องจากเซลล์อาร์คิสปอร์นี้มีองค์ประกอบของเซลล์แตกต่างจากเซลล์อื่นๆ จึงติดสีย้อมต่างจากเซลล์ข้างเคียง
     ต่อมาในท้ายที่สุด นิวเซลลัสที่ห่อหุ้มเซลล์อาร์คิสปอร์นี้จะถูกแทนที่ด้วยทาพีตัมของ ผนังออวุล
(integumentary tapetum) ที่หุ้มอยู่รอบๆ ซึ่งทาพีตัมนี้ไม่ใช่ทาพีตัมในอับไมโครสปอร์ ที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้ บางครั้งอาจเรียกทาพีตัมของผนังออวุลนี้ว่าเอนโดทีเลียม (endothelium; โปรดสังเกต ไม่ใช่เอนโดทีเซียม (endothecium) ในอับเรณู; ดูภาพที่ 23) ซึ่งเป็นชั้นในสุดของผนังออวุล โดยจะทำหน้าที่บุถุงเอ็มบริโอในพืชบางกลุ่ม

   2. ออวุล crassinucellate


                                                                  
                                                                  



                                      













ภาพที่ 32 เซลล์กำเนิดเมกะสปอร์ในออวุล crassinucellate
     แบบนี้ เซลล์อาร์คิสปอร์แบ่งตัวแบบขนานกับผิว ได้เซลล์สองประเภทคือ เซลล์ข้างผนัง (parietal cell) ที่อยู่ด้านนอกออวุล โดยจะพัฒนาเป็นนิวเซลลัสต่อไป และ เซลล์สร้างสปอร์ (sporogenous cell) ที่อยู่ด้านใน โดยจะพัฒนาเป็นเซลล์กำเนิดเมกะสปอร์ (2n) ต่อไป ดังนั้น ในออวุลแบบนี้ เซลล์กำเนิดเมกะสปอร์ (2n) จึงพัฒนาโดยอ้อมมาจาก เซลล์อาร์คิสปอร์ เพราะพัฒนาผ่านมาทางเซลล์สร้างสปอร์ ผลสุดท้ายจะได้เซลล์กำเนิดเมกะสปอร์ที่ฝังตัวลึกอยู่ในกลุ่มเซลล์นิวเซลลัสที่ค่อนข้างหนาแน่น






12. การเกิดเมกะสปอร์ (megasporogenesis)
     ดังที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อที่ 4 ข้างต้น การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียก็ต้องเกี่ยวข้องกับสองขบวนการใหญ่ตามลำดับเช่นกัน คือ 1. การเกิดสปอร์เพศเมีย (megasporogenesis) ที่เป็นขบวนการสร้างสปอร์เพศเมียภายในนิวเซลลัส (ดูหัวข้อที่ 11) และ 2. การเกิดเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (megagametogenesis) ที่เป็นขบวนการพัฒนาสปอร์เพศเมียไปเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ทั้งสองขบวนการนี้เกิดขึ้นในดอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในออวุลของเกสรเพศเมีย
     เมกะสปอร์ (megaspore) ในพืชที่สร้างสปอร์สองชนิด คือเมกะสปอร์ และไมโครสปอร์ (ดูหัวข้อที่ 4) เมกะสปอร์หมายถึงสปอร์ที่มีโครโมโซมหนึ่งชุด (1n) ที่จะพัฒนาเป็นแกมีโทไฟต์ เพศเมีย (megagametophyte หรือ female gametophyte) ต่อไป โดยทั่วไป เมกะสปอร์มีขนาด ใหญ่กว่าไมโครสปอร์
     เมื่อเซลล์อาร์คิสปอร์ที่อยู่ในออวุลพัฒนาเป็นเซลล์กำเนิดเมกะสปอร์ (2n) แล้ว เนื้อเยื่อที่อยู่ทั้งสองข้างก็จะเริ่มพัฒนาเป็นผนังออวุลด้วย มีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสสองครั้งจนได้ กลุ่มละสี่ (tetrad) ของเมกะสปอร์ (1n) ที่มักจะเรียงตัวกันในแนวยาว จากไมโครไพล์ไปยัง ด้านฐานออวุล เมกะสปอร์สามชิ้นที่ด้านไมโครไพล์จะสลายตัวในเวลาต่อมา คงเหลือรอดเฉพาะ เมกะสปอร์ชิ้นที่อยู่ด้านฐานออวุล เนื่องจากชิ้นนี้อยู่ใกล้ก้านออวุลที่มีอาหารสะสมนั่นเอง การพัฒนาของเมกะสปอร์แบบนี้เป็นลักษณะที่พบได้ทั่วไป



13. ถุงเอ็มบริโอ (embryo sac)
     เมกะสปอร์หนึ่งชิ้นที่อยู่รอดในขบวนการการเกิดเมกะสปอร์ในหัวข้อที่แล้ว จะพัฒนาต่อไปในขบวนการการเกิดเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียในหัวข้อนี้ จนได้เซลล์สืบพันธุ์เพศเมียในที่สุด
     หากเราต้องการเข้าใจการเกิดเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียหรือแกมีโทไฟต์เพศ เมีย เราต้องเข้าใจเรื่องถุงเอ็มบริโอเป็นอย่างดี เนื่องจากองค์ประกอบและเหตุการณ์ที่สำคัญๆเกิดอยู่ภายในถุงเอ็มบริโอนี่เอง     ถุงเอ็มบริโอ เป็นแกมีโทไฟต์เพศเมีย (megagametophyte หรือ female gametophyte) ที่เจริญเต็มวัย ถุงเอ็มบริโอนี้มีนิวเซลลัสและผนังออวุลห่อหุ้ม ทั้งหมดนี้อยู่ในออวุลของพืชดอก โดยทั่วไป ถุงเอ็มบริโอเป็นโครงสร้างที่มีแปดนิวเคลียส เจ็ดเซลล์ คือเซลล์ไข่ (egg cell) หนึ่งเซลล์ ซิเนอร์จิดส์ (synergids) สองเซลล์ และแอนติโพแดล (antipodal) สามเซลล์ โดยที่แต่ละเซลล์มีหนึ่งนิวเคลียส และทั้งหกเซลล์นี้อยู่ภายในเซลล์กลางที่มีขนาดใหญ่ เซลล์กลางนี้มีสองนิวเคลียส
     การสร้างถุงเอ็มบริโอ ในพืชชนิดต่างๆมีมากมายหลายแบบและมีความสลับซับซ้อนมากเกินความจำเป็นในระดับนี้ ดังนั้น จึงขอยกตัวอย่างการสร้างถุงเอ็มบริโอแบบมีหนึ่งนิวเคลียส (monosporic) ในเมกะสปอร์ที่ทำงานได้ ที่เรียกว่าประเภท Polygonum แบบนี้เป็นแบบที่เรา พบได้บ่อยที่สุด โดยพบครั้งแรกใน Polygonum sp. ซึ่งเป็นสกุลเดียวกับผักไผ่น้ำ และพบในสกุลอื่นๆด้วย เช่น Solanum sp. โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้


1. ออวุลที่เป็นแบบ tenuinucellate (ดูภาพที่ 31) โผล่ในลักษณะเป็นตุ่มออกมาจากพลาเซนตา (ดูภาพที่ 4) โดยมีนิวเซลลัสหุ้มอยู่ชั้นนอก เซลล์อาร์คิสปอร์ที่จะพัฒนาเป็นเซลล์กำเนิดเมกะสปอร์ต่อไปอยู่ใต้และติดกับ ชั้นผิวนิวเซลลัสนี่เอง
ที่ระยะนี้ การแบ่งเซลล์อยู่ในระยะโพรเฟสของไมโอซิส I และเริ่มเกิดผนังออวุลชั้นใน ก่อนชั้นนอก แต่เกิดหลังการเปลี่ยนสภาพ (differentiation) ของนิวเซลลัส
2. การแบ่งเซลล์ระยะไมโอซิส I ดำเนินไปเรื่อยๆ ผนังออวุลชั้นนอกเริ่มเกิดขึ้นมาและเริ่มเห็นเซลล์กำเนิดเมกะสปอร์ (2n) ที่พัฒนามาจากเซลล์อาร์คิสปอร์ที่อยู่ใต้ชั้นผิวนิวเซลลัส
ออวุลเริ่มมีการโค้งตัวจากตำแหน่งเดิมที่ระยะนี้
3. การแบ่งเซลล์ระยะไมโอซิส I ใกล้จะเสร็จเรียบร้อย เนื่องจากเริ่มมีแพร็กโมพลาสต์ (phragmoplast) ที่จะเป็นผนังกั้นระหว่างเซลล์ลูก
ที่ปลายระยะนี้ การแบ่งเซลล์ระยะไมโอซิส II เริ่มเกิดขึ้น
4. เกิดกลุ่มละสี่ (tetrad) ของเมกะสปอร์ (1n) ขึ้นมา โดยมีการจัดเรียงตัวเป็นเส้นตรง
ผนังออวุลเริ่มพัฒนาด้วยการแบ่งเซลล์แบบขนานกับผิว ในขณะเดียวกันออวุลยังโค้งตัวเรื่อยๆ
ที่ระยะนี้ เมกะสปอร์สามชิ้นที่อยู่ใกล้ไมโครไพล์เริ่มจะสลายตัว

5. ออวุลยังคงโค้งตัวต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งจะเป็นลักษณะออวุลคว่ำ (ดูภาพที่ 29) ในขณะที่ เมกะสปอร์สามชิ้นที่อยู่ใกล้ไมโครไพล์กำลังสลายตัว ส่วนเมกะสปอร์ (1n) หนึ่งชิ้นที่อยู่ใกล้ฐานออวุลอยู่รอดและเริ่มขยายตัว เหตุที่เมกะสปอร์ที่อยู่ด้านนี้อยู่รอดเนื่องจากมีอาหารมาเลี้ยงได้ง่ายนั่นเอง
6. เหลือเมกะสปอร์ที่ทำงานได้อยู่รอดหนึ่งเซลล์และจะมีการแบ่งตัวต่อไป ถือว่าสิ้นสุด ขบวนการการเกิดเมกะสปอร์ (megasporogenesis) ที่ระยะนี้

ตั้งแต่ข้อ 1.- 6. เป็นขบวนการการเกิดเมกะสปอร์
โดยอาศัยอาหารจากนิวเซลลัส จะเริ่มการแบ่งนิวเคลียสอิสระในการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส I ของขบวนการการเกิดเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (megagametogenesis)
7. - 10. เป็นขบวนการการเกิดเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย
7. การแบ่งนิวเคลียสอิสระในการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส I ใกล้เสร็จเรียบร้อย และ ผนังออวุลขยายตัวใหญ่ขึ้น ในที่สุดจะได้ถุงเอ็มบริโอที่มีสองนิวเคลียส (1n)
เริ่มการแบ่งนิวเคลียสอิสระในการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส II ต่อไป
8. ถุงเอ็มบริโอขยายตัวใหญ่ขึ้นอีก และมีสี่นิวเคลียส (1n) นิวเคลียสทั้งสี่ชิ้นจะแยกขั้วหรือด้าน คือด้านไมโครไพล์และฐานออวุล โดยไปอยู่ด้านละสองชิ้น
9. การแบ่งนิวเคลียสอิสระในการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส III เสร็จเรียบร้อย แล้วเริ่ม การแบ่งตัวครั้งที่สามต่อไปอีก
ถุงเอ็มบริโอใหญ่ขึ้นอีกเล็กน้อย นิวเคลียสที่มีทั้งหมดแปดชิ้นมีการจัดเรียงตัวใหม่ แล้วตามด้วยการสร้างผนังเซลล์ โดยนิวเคลียสหนึ่งชิ้นจากแต่ละด้านเคลื่อนตัวมาอยู่ตรงกลาง เรียกนิวเคลียสสองชิ้นนี้ว่านิวเคลียสขั้ว (polar nucleus) นิวเคลียสสามชิ้นที่เหลืออยู่ด้านไมโครไพล์จัดตัวใหม่เรียกว่าอุปกรณ์ไข่ (egg apparatus) ประกอบด้วยเซลล์ไข่ (egg cell) หนึ่งเซลล์ และซิเนอร์จิดส์ (synergids) สองเซลล์ ในขณะที่นิวเคลียสสามชิ้นที่เหลืออยู่ด้านฐานออวุลพัฒนาเป็นเซลล์ที่เรียก ว่าแอนติโพแดล (antipodal) สามเซลล์
10. ถุงเอ็มบริโอที่พัฒนาเสร็จสมบูรณ์ หรือแกมีโทไฟต์เพศเมียที่เจริญเต็มวัยนี้ มีแปดนิวเคลียส แต่มีเพียงเจ็ดเซลล์ โดยมีจำนวนโครโมโซมในส่วนต่างๆดังนี้
ก้านออวุล (2n) ผนังรังไข่ (2n) และผนังออวุล (2n) ที่พัฒนามาแทนนิวเซลลัส (2n) หรือผนังของอับสปอร์ (sporangium) ที่หายไป
เซลล์ไข่ (1n) หนึ่งเซลล์ หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (megagametophyte) นั้นเอง เซลล์นี้เป็นเซลล์ขนาดใหญ่อยู่ด้านไมโครไพล์ ซิเนอร์จิดส์ (1n) สองเซลล์ เซลล์แอนติโพแดล (1n) สามเซลล์ ไม่ทราบหน้าที่ จะสลายตัวต่อมา และนิวเคลียสขั้ว (1n) สองชิ้นของเซลล์กลาง (เซลล์ใหญ่) อาจรวมตัวกันกลายเป็นนิวเคลียสเอนโดสเปิร์มทุติยภูมิ (secondary endosperm nucleus; 2n) เมื่อรวมตัวกับนิวเคลียสสเปิร์ม (1n) ที่มาจากหลอดเรณู (ดูหัวข้อที่ 9) ก็จะกลายเป็นนิวเคลียสเอนโดสเปิร์มปฐมภูมิ (primary endosperm nucleus; 3n)



     
     

สรุป เซลล์ไข่ ซิเนอร์จิดส์ เซลล์แอนติโพแดล และนิวเคลียสเอนโดสเปิร์มทุติยภูมิ ทั้งหมดนี้อยู่ในถุงเอ็มบริโอ ดังนั้น ถุงเอ็มบริโอจึงมีเจ็ดเซลล์ แต่แปดนิวเคลียส และออวุลที่ได้เป็น ออวุลคว่ำ (anatropous) โดยที่เซลล์กำเนิดเมกะสปอร์พัฒนามาจากออวุลแบบ tenuinucellate นั่นคือ เซลล์อาร์คิสปอร์ทำหน้าที่เป็นเมกะสปอร์โดยตรง และมีผนังออวุลสองชั้น (bitegmic)
     นอกจากตัวอย่างข้างต้น ขอแสดงภาพการพัฒนาถุงเอ็มบริโอของ Fritillaria sp. โดยพบในลิลี่เช่นกัน (ดูภาพที่ 1) เพื่อเป็นตัวอย่างเพิ่มเติม แบบนี้มีการจัดตัวของออวุลแบบคว่ำ (ดูภาพที่ 29) ดังนี้





ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า การสร้างถุงเอ็มบริโอในพืชชนิดต่างๆมีมากมายหลายแบบและสลับซับซ้อนเกินความจำเป็นในระดับนี้ อย่างไรก็ตามจะขอแยก ประเภทของการพัฒนา ถุงเอ็มบริโอ เพื่อให้พอทราบเป็นสังเขป ดังนี้
1. ประเภทมีผนังเซลล์
     1.1 พวกมีหนึ่งนิวเคลียส
(monosporic) ในเมกะสปอร์ที่ทำงานได้ มีประเภท Polygonum และ Oenothera
     1.2 พวกมีสองนิวเคลียส
(bisporic) ในเมกะสปอร์ที่ทำงานได้ มีประเภท Allium และ Endymion ทั้งสองประเภทนี้คล้ายกับประเภท Polygonum
2. ประเภทไม่มีผนังเซลล์
     2.1 พวกมีสี่นิวเคลียส
(tetrasporic) ในเมกะสปอร์ที่ทำงานได้ มีประเภท Adoxa (คล้ายกับประเภท Polygonum), Penaea, Plumbago, Peperomia, Drusa, Fritillaria และPlumbagella








    

    





วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

การจัดตัวหรือการโค้งงอของออวุล


การจัดตัวหรือการโค้งงอของออวุล ในรังไข่มีหลายแบบ แบบพื้นฐานสองแบบที่มักจะพบมีดังนี้
     1. ออวุลตั้งตรง (atropous หรือ orthotropous) ออวุลแบบนี้ไม่มีการโค้งงอ



ภาพที่ 28 ตัดตามยาวออวุลตั้งตรง
     2. ออวุลคว่ำ (anatropous) ออวุลหันกลับในแบบนี้ เนื่องจากก้านออวุลงอกลับ 180 องศานั่นเอง ดังนั้น แกนตามยาวของนิวเซลลัสจึงขนานกับก้านออวุล






ภาพที่ 29 ตัดตามยาวออวุลคว่ำ
     เมล็ดที่มาจากการจัดวางตัวของออวุลแบบนี้จึงมีไมโครไพล์อยู่ใกล้ๆขั้วเมล็ด (hilum) และมีรากแรกเกิด (radicle) อยู่อีกด้านหนึ่ง เช่นเมล็ดถั่ว
     นอกจากสองแบบข้างต้นที่พบมากแล้ว เราอาจจะพบแบบต่อไปนี้บ้าง
     3. ออวุลแนวนอน (amphitropous) ออวุลมีการโค้งงอในระดับหนึ่ง ทำให้จุดที่เชื่อมต่อ (hilum) อยู่ใกล้ตรงกลาง จึงมีผลให้ถุงเอ็มบริโอเป็นรูปไต ลักษณะนี้มีวิวัฒนาการมาพอสมควร จึงเป็นแบบที่ก้าวหน้ากว่า ตัวอย่างเช่นใน Capsella sp.

ภาพที่ 30 ตัดตามยาวออวุลแนวนอน
     หากดูเข้าไปภายในออวุลในระยะต้นๆของการพัฒนา จะพบว่ามีเซลล์กำเนิดเมกะสปอร์ (megasporocyte หรือ megaspore mother cell; 2n) ที่มีหน้าที่สร้างเมกะสปอร์ (megaspore) เพื่อสืบพันธุ์ต่อไป การพัฒนาของเซลล์กำเนิดเมกะสปอร์รวมทั้งนิวเซลลัสในออวุลนี้มีความ แตกต่างกันในพืชชนิดต่างๆ

ออวุล (ovule)

        
ส่วนของเกสรเพศเมียอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญและมีองค์ประกอบที่สำคัญๆมากมาย ก็คือรังไข่ ดังที่ได้กล่าวถึงในหัวข้อที่แล้ว รังไข่เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากก้านเกสรเพศเมียมาทาง ด้านล่าง ภายในรังไข่มีออวุลที่มีหน้าที่สำคัญในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย
     ออวุล ที่อยู่ในรังไข่ เป็นอับเมกะสปอร์ (megasporangium) พิเศษที่ห่อหุ้มแกมีโทไฟต์เพศเมีย (megagametophyte หรือ female gametophyte) หรือถุงเอ็มบริโอ (ดูหัวข้อที่ 13) นั่นเอง โดยที่ภายในถุงเอ็มบริโอนี้มีเซลล์ไข่ (ดูภาพที่ 33 และ 34 ส่วนท้าย) ทั้งหมดนี้ถูกห่อหุ้มด้วยนิวเซลลัส (nucellus) และผนังออวุล (integument) จำนวนหนึ่งหรือสองชั้น ออวุลเมื่อสุกแก่จะพัฒนาเป็นเมล็ดต่อไป
 ออวุลเป็นโครงสร้างที่ค่อนข้างซับซ้อน โดยมี องค์ประกอบของออวุล ดังนี้ (ดูภาพที่ 28 และ 29 ประกอบ)

           
  
    1. นิวเซลลัส (nucellus) เป็นเนื้อเยื่อหุ้มถุงเอ็มบริโอที่กำลังพัฒนาอยู่ข้างในดังนั้น นิวเซลลัสก็คือผนังของอับเมกะสปอร์นั่นเอง ในบางครั้ง อาจถือว่านิวเซลลัสคืออับเมกะสปอร์ก็ได้
2.
ผนังออวุล (integument) เป็นชั้นหุ้มอับเมกะสปอร์โดยรอบ ยกเว้นช่องเปิดที่เรียกว่าไมโครไพล์ (micropyle) โดยหุ้มอยู่ภายนอกนิวเซลลัส ต่อไปผนังออวุลจะพัฒนาเป็นเปลือกเมล็ด (seed coat) ผนังออวุลนี้อาจจะมีเพียงชั้นเดียว (unitegmic) หรือสองชั้น (bitegmic) ก็ได้
3
. ก้านออวุล (funiculus) เป็นก้านที่ยึดผนังออวุลที่ห่อหุ้มนิวเซลลัสและมีออวุลอยู่ภายในให้ติดกับพลาเซนตา (ดูภาพที่ 4) ของรังไข่ ในบางครั้ง หากดูเผินๆจะเหมือนกับว่าออวุลเกิดขึ้นมาจากบริเวณพลาเซนตานี่เอง จำนวนออวุลที่เกิดในบริเวณนี้อาจจะมีเพียงหนึ่งจนถึงมากมาย แล้วแต่ชนิดพืช
4
. ไมโครไพล์ (micropyle) เป็นช่องเปิดเล็กๆที่ผนังออวุล สำหรับให้หลอดเรณู (ดูหัวข้อที่ 9) เจริญเข้าไปหาออวุล
 5.
ฐานออวุล (chalaza) เป็นบริเวณที่ไม่อาจจะระบุได้ชัดเจน โดยทั่วไป หมายถึงบริเวณที่นิวเซลลัส ผนังออวุล และก้านออวุลมาพบกัน บริเวณนี้อยู่ตรงข้ามไมโครไพล์
              



                                  
  

การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์

การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ด้วยการวัดดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์ เป็นวิธีวัดความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์อีกวิธีหนึ่ง โดยอาศัยหลักการที่ว่า เมล็ดพันธุ์ใดมีความแข็งแรงสูงย่อมจะงอกได้ง่ายกว่าเมล็ดพันธุ์ที่มีความ แข็งแรงต่ำ วิธีการวัดดัชนีการงอกทำได้โดยการนำตัวอย่างเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ต้องการ ตรวจสอบมาเพาะแล้วนับจำนวนเมล็ดที่งอกทุกวัน นำมาคำนวณหาค่าดัชนีการงอก โดยเปรียบเทียบกับเมล็ดพันธุ์พืชชนิดเดียวกันจากแหล่งอื่น

ตัวอย่าง เมล็ดถั่วเหลืองตัวอย่างที่ 1 จำนวน 100 เมล็ด เริ่มเพาะในวันที่ 1 ได้ข้อมูลดังตาราง



วันที่
จำนวนเมล็ดที่งอก

1
-

2
-

3
40

4
30

5
20

6
-

7
-




เมื่อนำค่าดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์จากแหล่งต่างๆ มาเปรียบเทียบกันแล้ว ถ้าค่าดัชนีการงอของเมล็ดพันธุ์จากแหล่งใดมีค่าสูงกว่า แสดงว่าเมล็ดพันธุ์ของแหล่งนั้นมีความแข็งแรงกว่า
การวัดความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ 2 วิธีดังกล่าวนี้ แต่ละวิธีมีวัตถุประสงค์ของการวัดแตกต่างกัน คือ วิธีการเร่งอายุพันธุ์ของเมล็ดนั้นเหมาะสมสำหรับผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อการ จำหน่าย หรือเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์นั้นไว้เพาะปลูกในฤดูกาลต่อไป ส่วนการหาดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์นั้น เหมาะสำหรับเกษตรกรที่จะใช้ตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ก่อนที่จะนำไปเพาะ ปลูก

เมล็ดยังมีความสำคัญในแง่ที่เป็นแหล่งสะสมพันธุกรรมของพืชด้วย เพราะในเซลล์ของเอ็มบริโอทุกเซลล์ มีสารพันธุกรรมหรือยีนของพืชชนิดนั้นๆ อยู่ แม้ว่าพืชชนิดนั้นจะสูญพันธุ์ไป แต่ถ้ามีการเก็บเมล็ดของพืชชนิดนั้นไว้ ก็ยังมียีนของพืชนั้นที่พร้อมจะขยายพันธุ์ต่อไปได้ ปัจจุบันนี้หลายประเทศได้ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์พันธุ์พืชเป็นอย่างมาก สำหรับประเทศไทยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ในการปรับปรุงพันธุ์พืชต่างๆ ในอนาคต นอกจากนี้ยังจะเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชกับต่างประเทศอีกด้วย

ขั้นตอนของการอนุรักษ์พันธุ์พืช เริ่มด้วยการรวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชนำมาบันทึกประวัติข้อมูลของเมล็ดพันธุ์ คัดขนาดเมล็ด ต่อจากนั้นต้องทำความสะอาดและทดสอบการงอกของเมล็ดพันธุ์ ทำให้เมล็ดแห้ง และเก็บรักษาไว้ในภาชนะ เช่น กระป๋องหรือซองอลูมิเนียม ขั้นสุดท้ายจะนำไปเก็บไว้ในห้องที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ถึง -
20 องศาเซลเซียส จะสามารถเก็บไว้ได้นานกว่า 20 ปี