การงอกของเมล็ดนอกจากจะต้องการสภาวะแวดล้อมภายนอกที่เหมาะสมแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น ความแก่ของเมล็ด ซึ่งจะสังเกตได้จาก เมล็ดบางชนิดเมื่อเก็บเกี่ยวมาใหม่ๆ และนำไปเพาะหรือปลูกทันทีจะไม่งอก แม้จะมีสภาวะแวดล้อมต่างๆ ที่เหมาะสมเพียงพอต่อการงอกก็ตาม แต่เมื่อเก็บไว้สักระยะหนึ่งแล้วนำไปเพาะ เมล็ดเหล่านี้จึงจะสามารถงอกได้ ตัวอย่างเช่น เมล็ดข้าวฟ่างที่เก็บเกี่ยวมาใหม่ๆ เมื่อนำไปเพาะจะไม่งอก สภาพเช่นนี้เรียกว่าเมล็ดกำลังอยู่ในระยะการพักตัว (dormancy) การพักตัวของเมล็ดนี้อาจจะเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ กล่าวคือ เมล็ดพืชชนิดที่มีเปลือกแข็งหรือเหนียวมาก เช่น พุทรา มะขาม ฝรั่ง ฯลฯ น้ำและออกซิเจนไม่สามารถผ่านเข้าไปในเมล็ดได้ ส่วนเมล็ดพืชบางชนิด เช่น มะเขือเทศ ฟัก ฯลฯ จะมีสารที่ยับยั้งการงอกอยู่ที่ผิวนอก ในสภาพธรรมชาติเมล็ดพืชนี้จะงอกได้ก็ต่อเมื่อมีสารเคลือบผิวเมล็ดดังกล่าว หลุดออกไป
เมล็ดบางชนิดแม้จะแยกเปลือกออกแล้วและนำมาเพาะในสภาพที่เหมาะสมต่อการงอก กล่าวคือ มีความชื้นและออกซิเจนเพียงพอ ก็ยังไม่สามารถจะงอกได้ ทั้งนี้เนื่องจากเอ็มบริโอซึ่งอยู่ภายในยังไม่พร้อมที่จะเจริญต่อไป เมล็ดพวกนี้ต้องการระยะเวลาหนึ่งเพื่อปรับสภาพทางสรีระ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยทั่วไปแล้วการปรับสภาพดังกล่าวต้องอาศัยอุณหภูมิต่ำ และความชื้นค่อนข้างสูง นอกจากนี้ยังต้องใช้เวลามากด้วย พืชส่วนใหญ่ที่ต้องมีการปรับสภาพภายในมักจะเป็นพืชในเขตหนาวของโลก เช่น แอปเปิล เชอร์รี เป็นต้น เมล็ดฤดูหนาวที่ยาวนานซึ่งมีอุณหภูมิต่ำมากๆ และมีความชื้นสูงจึงจะงอก
อย่างไรก็ตาม ยังมีเมล็ดพืชบางชนิดที่ไม่ปรากฏว่ามีระยะพักตัวเลย หรือถ้ามีก็สั้นมากจนไม่ทันสังเกตเห็น กล่าวคือ เมล็ดสามารถงอกได้ทันทีที่ตกถึงดิน บางชนิดงอกได้ทั้งๆ ที่เมล็ดยังอยู่ในผลหรือบนต้น เช่น เมล็ดโกงกาง เมล็ดขนุน เมล็ดมะละกอ
เมล็ดบางชนิดแม้จะแยกเปลือกออกแล้วและนำมาเพาะในสภาพที่เหมาะสมต่อการงอก กล่าวคือ มีความชื้นและออกซิเจนเพียงพอ ก็ยังไม่สามารถจะงอกได้ ทั้งนี้เนื่องจากเอ็มบริโอซึ่งอยู่ภายในยังไม่พร้อมที่จะเจริญต่อไป เมล็ดพวกนี้ต้องการระยะเวลาหนึ่งเพื่อปรับสภาพทางสรีระ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยทั่วไปแล้วการปรับสภาพดังกล่าวต้องอาศัยอุณหภูมิต่ำ และความชื้นค่อนข้างสูง นอกจากนี้ยังต้องใช้เวลามากด้วย พืชส่วนใหญ่ที่ต้องมีการปรับสภาพภายในมักจะเป็นพืชในเขตหนาวของโลก เช่น แอปเปิล เชอร์รี เป็นต้น เมล็ดฤดูหนาวที่ยาวนานซึ่งมีอุณหภูมิต่ำมากๆ และมีความชื้นสูงจึงจะงอก
อย่างไรก็ตาม ยังมีเมล็ดพืชบางชนิดที่ไม่ปรากฏว่ามีระยะพักตัวเลย หรือถ้ามีก็สั้นมากจนไม่ทันสังเกตเห็น กล่าวคือ เมล็ดสามารถงอกได้ทันทีที่ตกถึงดิน บางชนิดงอกได้ทั้งๆ ที่เมล็ดยังอยู่ในผลหรือบนต้น เช่น เมล็ดโกงกาง เมล็ดขนุน เมล็ดมะละกอ
(คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่) |
เมล็ดมะละกอ |
การเร่งอายุเมล็ดพันธุ์เป็นการตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์เพื่อที่จะ ทำนายว่า เมล็ดพันธุ์นั้น เมื่อเก็บรักษาเป็นเวลานานแล้วจะมีค่าร้อยละของการงอกสูงหรือไม่วิธีการเร่ง อายุเมล็ดพันธุ์ก็คือ นำตัวอย่างเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ต้องการตรวจสอบมาเก็บไว้ในตู้อบที่มี อุณหภูมิระหว่าง 40-
เมล็ดมีความสำคัญต่อคนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เกษตรกรทำการเพาะปลูกกันต่อเนื่องตลอดทุกฤดูโดยอาศัยเมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้ ความต้องการเมล็ดพันธุ์มีเพิ่มมากขึ้นจนถึงขั้นที่ต้องผลิตเมล็ดพันธุ์ใน ระดับอุตสาหกรรม และมีการปรับปรุงวิธีการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพสูง มีกระบวนการตรวจสอบ การเก็บรักษา การบรรจุหีบห่อและการขนส่ง การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช แต่โดยหลักการทั่วไป จะเหมือนกัน คือ เมล็ดพันธุ์ต้องมีสมบัติตรงตามพันธุ์ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว สถานที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ควรมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมกับพืชนั้นๆ ดินมีความอุดมสมบูรณสูง ไม่มีปัญหาเรื่องโรคและแมลง การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ การลดความชื้นเมล็ดพันธุ์ต้องกระทำอย่างถูกต้องและต้องการตรวจสอบคุณภาพของ เมล็ดพันธุ์ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น