การจัดตัวหรือการโค้งงอของออวุล ในรังไข่มีหลายแบบ แบบพื้นฐานสองแบบที่มักจะพบมีดังนี้
1. ออวุลตั้งตรง (atropous หรือ orthotropous) ออวุลแบบนี้ไม่มีการโค้งงอ
ภาพที่ 28 ตัดตามยาวออวุลตั้งตรง
2. ออวุลคว่ำ (anatropous) ออวุลหันกลับในแบบนี้ เนื่องจากก้านออวุลงอกลับ 180 องศานั่นเอง ดังนั้น แกนตามยาวของนิวเซลลัสจึงขนานกับก้านออวุลภาพที่ 29 ตัดตามยาวออวุลคว่ำ
เมล็ดที่มาจากการจัดวางตัวของออวุลแบบนี้จึงมีไมโครไพล์อยู่ใกล้ๆขั้วเมล็ด (hilum) และมีรากแรกเกิด (radicle) อยู่อีกด้านหนึ่ง เช่นเมล็ดถั่วนอกจากสองแบบข้างต้นที่พบมากแล้ว เราอาจจะพบแบบต่อไปนี้บ้าง
3. ออวุลแนวนอน (amphitropous) ออวุลมีการโค้งงอในระดับหนึ่ง ทำให้จุดที่เชื่อมต่อ (hilum) อยู่ใกล้ตรงกลาง จึงมีผลให้ถุงเอ็มบริโอเป็นรูปไต ลักษณะนี้มีวิวัฒนาการมาพอสมควร จึงเป็นแบบที่ก้าวหน้ากว่า ตัวอย่างเช่นใน Capsella sp.
ภาพที่ 30 ตัดตามยาวออวุลแนวนอน
หากดูเข้าไปภายในออวุลในระยะต้นๆของการพัฒนา จะพบว่ามีเซลล์กำเนิดเมกะสปอร์ (megasporocyte หรือ megaspore mother cell; 2n) ที่มีหน้าที่สร้างเมกะสปอร์ (megaspore) เพื่อสืบพันธุ์ต่อไป การพัฒนาของเซลล์กำเนิดเมกะสปอร์รวมทั้งนิวเซลลัสในออวุลนี้มีความ แตกต่างกันในพืชชนิดต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น