วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์

การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ด้วยการวัดดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์ เป็นวิธีวัดความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์อีกวิธีหนึ่ง โดยอาศัยหลักการที่ว่า เมล็ดพันธุ์ใดมีความแข็งแรงสูงย่อมจะงอกได้ง่ายกว่าเมล็ดพันธุ์ที่มีความ แข็งแรงต่ำ วิธีการวัดดัชนีการงอกทำได้โดยการนำตัวอย่างเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ต้องการ ตรวจสอบมาเพาะแล้วนับจำนวนเมล็ดที่งอกทุกวัน นำมาคำนวณหาค่าดัชนีการงอก โดยเปรียบเทียบกับเมล็ดพันธุ์พืชชนิดเดียวกันจากแหล่งอื่น

ตัวอย่าง เมล็ดถั่วเหลืองตัวอย่างที่ 1 จำนวน 100 เมล็ด เริ่มเพาะในวันที่ 1 ได้ข้อมูลดังตาราง



วันที่
จำนวนเมล็ดที่งอก

1
-

2
-

3
40

4
30

5
20

6
-

7
-




เมื่อนำค่าดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์จากแหล่งต่างๆ มาเปรียบเทียบกันแล้ว ถ้าค่าดัชนีการงอของเมล็ดพันธุ์จากแหล่งใดมีค่าสูงกว่า แสดงว่าเมล็ดพันธุ์ของแหล่งนั้นมีความแข็งแรงกว่า
การวัดความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ 2 วิธีดังกล่าวนี้ แต่ละวิธีมีวัตถุประสงค์ของการวัดแตกต่างกัน คือ วิธีการเร่งอายุพันธุ์ของเมล็ดนั้นเหมาะสมสำหรับผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อการ จำหน่าย หรือเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์นั้นไว้เพาะปลูกในฤดูกาลต่อไป ส่วนการหาดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์นั้น เหมาะสำหรับเกษตรกรที่จะใช้ตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ก่อนที่จะนำไปเพาะ ปลูก

เมล็ดยังมีความสำคัญในแง่ที่เป็นแหล่งสะสมพันธุกรรมของพืชด้วย เพราะในเซลล์ของเอ็มบริโอทุกเซลล์ มีสารพันธุกรรมหรือยีนของพืชชนิดนั้นๆ อยู่ แม้ว่าพืชชนิดนั้นจะสูญพันธุ์ไป แต่ถ้ามีการเก็บเมล็ดของพืชชนิดนั้นไว้ ก็ยังมียีนของพืชนั้นที่พร้อมจะขยายพันธุ์ต่อไปได้ ปัจจุบันนี้หลายประเทศได้ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์พันธุ์พืชเป็นอย่างมาก สำหรับประเทศไทยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ในการปรับปรุงพันธุ์พืชต่างๆ ในอนาคต นอกจากนี้ยังจะเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชกับต่างประเทศอีกด้วย

ขั้นตอนของการอนุรักษ์พันธุ์พืช เริ่มด้วยการรวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชนำมาบันทึกประวัติข้อมูลของเมล็ดพันธุ์ คัดขนาดเมล็ด ต่อจากนั้นต้องทำความสะอาดและทดสอบการงอกของเมล็ดพันธุ์ ทำให้เมล็ดแห้ง และเก็บรักษาไว้ในภาชนะ เช่น กระป๋องหรือซองอลูมิเนียม ขั้นสุดท้ายจะนำไปเก็บไว้ในห้องที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ถึง -
20 องศาเซลเซียส จะสามารถเก็บไว้ได้นานกว่า 20 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น